วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตราประจำจังหวัดศรีสะเกษ


    จังหวัดศรีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ของตนเองไม่ว่าเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ เช่น สิ่งที่มีอยู่ตามสภาพภูมิศาสตร์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
พืชพรรณไม้ และทรัพยากรอื่น ๆ รวมทั้งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ได้แก่ ศิลปะแบบขอม อาหารการกิน ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาถิ่น เป็นต้น


ตราประจำจังหวัดศรีสะเกษตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดศรีสะเกษ เป็นรูปปราสาทหิน ภายในวงกลมใต้ปราสาทเป็นรูปดอกลำดวนมีใบ 6 ใบ

ความหมาย
     ปราสาทหิน หมายความว่า ปราสาทขอมซึ่งมีอยู่จำนวนมากในจังหวัดศรีสะเกษ จนได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งปราสาทขอมโบราณ  เช่น ปราสาท
สระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงน้อย ปรางค์กู่ ปราสาทโดนตวล ปราสาทเยอ ปราสาททามจาน (ปราสาทบ้านสมอ) เป็นต้น  เท่าที่สำรวจพบขณะนี้
ยังคงมีร่องรอย และขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานแล้ว 16 แห่ง จนได้ชื่อว่าเป็นนครแห่งปราสาท มีความหลากล้วนทางวัฒนธรรม วิถีวัฒนธรรมของ
ชาวศรีสะเกษ มีลักษณะพิเศษที่มีความหลากหลายของชนเผ่าต่าง ๆ ในพื้นที่ ได้แก่ ส่วย เขมร ลาว เยอ จึงเรียกขานกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ดินแดนสี่เผ่าไทย”

ดอกลำดวน ๑ ดอก   
     ดอกลำดวน  1  ดอก  หมายถึง ดอกไม้สัญลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ คือ ดอกลำดวน พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เป็นดินแดนที่มีต้นลำดวนขึ้นอยู่ทั่วไป เป็นจำนวนมาก พอถึงฤดูออกดอกจะส่งกลิ่นหอมเย็นอบอวนไปทั่วทั้งจังหวัด เมืองศรีสะเกษ จึงได้ชื่อว่า " เมืองศรีนครลำดวน" 

ใบลำดวน ๖ ใบ 
    ใบลำดวน ๖  ใบ  หมายถึง อำเภอเริ่มแรกที่ตั้งเป็นจังหวัดศรีสะเกษ มี ๖ อำเภอ ประกอบด้วยอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์
อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุขันธ์ อำเภอราษีไศล และอำเภออุทุมพรพิสัย สำหรับอำเภออื่น ๆ นอกนั้นได้ตั้งขึ้นหลัง พ.ศ. ๒๕๐๐ และยกฐานเป็นกิ่งอำเภอก่อนทุกอำเภอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น