วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


อาณาเขต


          ทิศเหนือ         ติดต่อกับ  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร และจังหวัดร้อยเอ็ด
          ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ  จังหวัดอุบลราชธานี
          ทิศใต้            ติดต่อกับ  ราชอาณาจักรกัมพูชา
          ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ  จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดร้อยเอ็ด

ลักษณะภูมิอากาศ


          ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปของจังหวัดศรีสะเกษ มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อนและค่อนข้างหนาวจัดในฤดูหนาว ส่วนฤดูฝนจะมีฝนตกหนักในเดือนกันยายน โดยมักจะตกหนักในพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัด ส่วนพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดจะมีปริมารฝนตกน้อย และไม่ค่อยสม่ำเสมอ โดยเฉลี่ยแล้วในปีหนึ่ง ๆ จะมีฝนตก 100 วัน ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,200-1,400 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 10 องศาเซลเซียส สูงสุดประมาณ 40 องศาเซลเซียส เฉลี่ยประมาณ 26-28 องศาเซลเซียส 
          ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยร้อยละ 66-73 ในเดือนกุมภาพันธ์มีปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 62.24 และปริมาณความชื้นสัมพัทธ์จะเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคมเป็นร้อยละ 71.95 ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งปริมาณความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดวัดได้ในเดือนสิงหาคมที่ร้อยละ 78.16 เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน หลังจากนั้นปริมาณความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงช่วงสิ้นสุดฤดูฝนในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม โดยมีปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 73.80, 68.67 และ 66.45 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูหนาว 
          ค่าศักย์การคายระเหยน้ำในจังหวัดศรีสะเกษจะแปรผันไปตามฤดูกาล กล่าวคือในเดือนมกราคม มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ 117.89 มิลลิเมตร ค่าศักย์การคายระเหยน้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ในเดือนมีนาคมมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำอยู่ที่ 146.30 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นค่าสูงสุด และในเดือนเมษายนมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำอยู่ที่ 142.23 มิลลิเมตร หลังจากนั้นค่าศักย์การคายระเหยน้ำได้ลดต่ำลงในเดือนพฤษภาคมเนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน โดยมีค่า 122.65 มิลลิเมตร ค่าศักย์การระเหยน้ำต่ำสุดอยู่ในเดือนกันยายนซึ่งมีค่า 85.93 มิลลิเมตร จากนั้นค่าจะเพิ่มปริมาณขึ้นเมื่อสิ้นสุดฤดูฝนในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

ลักษณะภูมิประเทศ


         จังหวัดศรีสะเกษนั้น ตอนใต้มีทิวเขาพนมดงรักซึ่งทอดตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ยาว 127 กิโลเมตร ยอดเขาสูงสุดในจังหวัดชื่อ "พนมตาเมือน" สูง 673 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยตั้งอยู่ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ จากเขาพนมตาเมือนนี้ พื้นที่ค่อย ๆ ลาดต่ำลงไปทางเหนือเข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล
          ภูมิประเทศส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ทางตอนกลางและตอนเหนือของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มลอนลาด มีระดับความสูงระหว่าง 150-200 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีลำน้ำหลายสายไหลผ่านพื้นที่ราบนี้ลงไปยังแม่น้ำมูล ลำน้ำสายสำคัญได้แก่ ห้วยทับทัน ห้วยสำราญ และห้วยขะยุง
          ตัวจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบันตั้งอยู่ริมฝั่งห้วยสำราญ ห้วยน้ำคำและห้วยขะยุง ห่างจากแม่น้ำมูลไปทางทิศใต้ประมาณสิบกิโลเมตร และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 126 เมตร 
ทางตอนเหนือของจังหวัดมีแม่น้ำมูลไหลผ่านเขตอำเภอศิลาลาด,อำเภอราษีไศล,อำเภอเมืองศรีสะเกษ,อำเภอยางชุมน้อย และอำเภอกันทรารมย์ เป็นระยะทางยาวประมาณ 120 กิโลมเตร บริเวณนี้ถือเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัด เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่อันอยู่สูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 115-130 เมตร
                                                         

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

งานประเพณีและเทศกาล


 วิ่งเฉลิมพระเกียรติสู่ผามออีแดง จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2551

วันที่ 14 ธันวาคม 2551
ณ บริเวณผามออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อำเภอกันทราลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

จังหวัดศรีสะเกษร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กำหนดจัด “ การแข่งขันวิ่งเฉลิมพระ เกียรติสู่ผามออีแดง จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2551 ” ในวันที่ 14 ธ.ค. 2551 ณ บริเวณผามออีแดง อุทยาน แห่งชาติเขาพระวิหาร อำเภอกันทราลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวามหาราช และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด ศรีสะเกษ

อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขาพระวิหาร ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอกันทราลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ ผามออีแดง ซึ่งเป็น เนินผาที่มีทิวทัศน์สวยงามเป็นจุดชมวิวตามแนวพื้นที่ชายแดนประเทศไทย-กัมพูชา บนผาหินทรายมีภาพ สลักนูนต่ำ ของเทพ 3 องค์ ศิลปะแบบขอมมีอายุกว่า 1,500 ปี นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ ถ้ำค้างคาว เสาธงชาติประวัติศาสตร์ สถูปคู่ น้ำตกขุนศรี สระตราว แหล่งหินตัด และทำนบโบราณ สำหรับพืชพรรณที่น่าสนใจมีมากมาย ตั้งแต่ดอกหญ้าจนถึงกล้วยไม้ รวมทั้งพืชสมุนไพรหลายชนิด ที่ โดดเด่น ได้แก่ เถาวัลย์สะบ้ายักษ์ โดยตลอดเส้นทางศึกษาธรรมชาติจะมีป้ายสื่อความหมายให้ได้รับ ความรู้อีกด้วย

ในการนี้เพื่อเป็นการเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระ ชนมพรรษา 5 ธันวามหาราช และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้จัด “ การแข่งขันวิ่ง เฉลิมพระเกียรติสู่ผามออีแดง จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2551 ” ขึ้น ซึ่งในครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 14 เพื่อเป็นการ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จักอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตลอดจนส่งเสริมให้เยาวชนและ ประชาชนทั่วไปได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการออกกำลังกาย เพื่อห่างไกลยาเสพติด

ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน ในรุ่นประเภทต่างๆ  คือ ประเภท มาราธอน 10.5 ก.ม. ( ชาย/ หญิง ) รุ่นไม่เกิน 20 ปี รุ่น 21-30 ปี และรุ่น 31 ปีขึ้นไปหรือประเภทฮาล์ฟมาราธอน 21.25 ก.ม. (ชาย/ หญิง) รุ่น Over All เพื่อชิงเงินรางวัลและถ้วยพระราชทานฯ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรม ราชกุมารี ทั้งนี้นักวิ่งทุกรายการจะได้รับเหรียญที่ระลึกและเกียรติบัตรทุกท่าน

สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
 สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ โทร. 0 4561 1531
 ที่ว่าการอำเภอกันทราลักษณ์ โทร. 0 4566 1422
 สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ 0 4561 6308
 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุรินทร์ โทร. 0 4451 4447/8 หรือ  e-mail tatsurin@tatsurin.or.th



 ประเพณีไหลเรือไฟ
 ประวัติ / ความเป็นมา
เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลายจังหวัดในภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดที่ตั้งอยู่ติดลำน้ำ เช่น แม่น้ำมูล- ชี แม่น้ำโขง เป็นต้น การไหลเรือไฟในภาคอีสานนั้นเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันแน่ชัด สันนิษฐานว่าคงมีมาก่อนที่พุทธศาสนาจะเผยแพร่มาสู่ประเทศไทยเพราะสมัยก่อนกษัตริย์ไทยยึดถือพิธี พราหมณ์ู่ โดยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย สมัยที่นำอารยธรรมเข้ามาเผยแพร่ในแถบสุวรรณภูมิ ดังพบว่า ประเพณีงานบุญโดดเด่นที่จัดขึ้นในภาคอีสานมักเกี่ยวโยงหรือผูกพันกับเรื่องของไฟเกือบทั้งสิ้น เช่น งาน แห่เทียนเข้าพรรษา บุญบั้งไฟ พิธีไหลเรือไฟ เพราะมีความเชื่อว่า “ ไฟ ” เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งในศาสนา พราหมณ์ เรียกว่า เทพอัคคี มีฐานะรองจากพระอินทร์สามารถเผาผลาญสิ่งชั่วร้ายและขจัดความทุกข์ยาก ให้ดับสลายไปได้

จังหวัดต่างๆ ที่มีการจัดประเพณีไหลเรือไฟ เช่น จังหวัดศรีษะเกษ จังหวัดเลย จังหวัดนครพนม จังหวัด หนองคาย จังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ มักจัดขึ้นคล้ายคลึงกัน แต่ก็แตกต่างกันในด้านคติ ความเชื่อในส่วน ของจังหวัดศรีสะเกษ มีความเชื่อว่า เป็นการเซ่นสรวงพญานาค ซึ่งสิงสถิตตามแม่น้ำลำคลองให้คุ้มครอง ผู้ที่สัญจรไปมาทางน้ำ ไม่ให้มีภัยอันตรายเข้ามากล้ำกราย

  กำหนดงาน

จัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา ระหว่างขึ้น 15 ค่ำ ถึง วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11  สามารถตรวจสอบราย ละเอียดได้ที่  www.tat.or.th/festival

 กิจกรรม / พิธี

การทำเรือไฟในอดีตนั้น ทำด้วยไม้ไผ่และต้นกล้วย ยาวเพียง 5-6 วาเท่านั้น ความสูงไม่เกิน 1 เมตรและ เป็นรูปเรือธรรมดา ทำราวไว้สองข้าง เพื่อวางขี้กะไต้ ตะเกียง หรือโคมไฟ มีการจัด ข้าวปลาอาหาร ขนม นมเนย ฝ้ายไน ไหมหลอด เสื่อผืน บรรจุไว้ข้างใน พอเวลาประมาณ 5 โมงเย็นจะเริ่ม ทำพิธีโดยนิมนต์ พระมาสวดและหลังการรับศีล ฟังเทศน์ ไหว้พระเรียบร้อยแล้ว จึงให้ญาติโยมตกแต่งเรือด้วยดอกไม้ธูป เทียนที่ถือไปบำเพ็ญกุศลนั่นเอง พอย่ำค่ำก็นำเรือไฟออกไปกลางแม่น้ำโขงแล้วจุดไฟปล่อยให้เรือไหล ไปตามลำน้ำส่งแสงระยิบตาเลยทีเดียว ต่อมาการทำเรือไฟมีวิธีตกแต่งให้วิจิตรพิสดารมากยิ่งขึ้น รู้จักนำ เอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประกอบทำให้สามารถดัดแปลงเรือไฟให้มีรูปร่างแปลกตาออกไป ทั้งพระ ภิกษุ สามเณร ชาวบ้านแต่ละคุ้มวัดจะเตรียมจัดทำเรือไฟไว้ล่วงหน้าหลายวัน โดยนำเอาต้นกล้วยทั้งต้น มาเสียบไม้ต่อกันให้ยาว หลายวา วางขนานกันสองแถว กว้างห่างกันพอประมาณ แล้วนำไม้ไผ่เรียวยาว มาผูกไขว้กันเป็นตารางสี่เหลี่ยมมีระยะห่างกันคืบเศษวางราบพื้น มัดด้วยลวดให้แน่นและแข็งแรง เพื่อรอ การออกแบบภาพบนแผงผู้ออกแบบแสดงความคิดสร้างสรรค์อย่างสวยงามที่สุด เช่น ประดิษฐ์เป็นเรื่อง ราวตามพระพุทธประวัติหรือสัตว์ในตำนานบ้างเป็นพญานาค ครุฑ หงส์ เป็นต้น แล้วนำไปปักติดเป็นเสา บนแพหยวกกล้วย

ในอดีตเชื้อเพลิงที่ใช้จุดไฟนั้นใช้น้ำมันยางตระบอกขี้ผึ้งสีน้ำมันพร้าว, น้ำมันสน, น้ำมันยางที่เจาะสกัด จากต้นยาง ตะแบกชาด แล้วเอาไฟลนไม้ให้น้ำมันไหลออกมาแต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นน้ำมันก๊าดหรือน้ำมัน ดีเซล บรรจุในขวดน้ำดื่มต่างๆ แล้วนำมาแขวนตามโครงเรือ ซึ่งต้องอาศัยการคำนวณที่แม่นยำ เพราะถ้า ติดกันมากเกินไปจะทำให้เรือไหม้ไฟได้ ส่วนโครงเรือเป็นไม้มีขนาดใหญ่ และเน้นความวิจิตรตระการตา เมื่อปล่อยเรือไฟลงน้ำโขงแล้ว จะมีความวิจิตรตระการตา สว่างไสวไปทั่วริมฝั่งแม่น้ำโขง อวดโฉมระยิบ ระยับ มีฉากหลังเป็นสีดำจากท้องฟ้าในยามค่ำคืน และแสงที่สะท้องจากท้องน้ำเพิ่มความงดงามมากขึ้น
ก่อนที่จะมีการไหลเรือไฟ ในช่วงเช้าจะประกอบการกุศล การทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร และเลี้ยง ดูกัน ตกตอนบ่ายก็ตกแต่งเรือและมีการเล่นสนุกสนานต่างๆ ตอนเย็นมีการสวดมนต์รับศีลและฟังเทศน์ พอตอนค่ำระหว่าง 19.00-20.00 น. จึงนำเรือออกไปลงน้ำและพิธีไหลเรือไฟก็เริ่มขึ้น


 งานเทศกาลดอกลำดวน

จัดขึ้นเป็นประจำระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคมของทุกปี ณ สวนสมเด็จศรีนครินทร์ เป็นช่วงที่ดอกลำดวนใน สวนกำลังบาน ภายในงานประกอบด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านสี่เผ่า คือ เขมร ส่วย ลาว เยอ การออกร้านจำหน่ายสินค้าหัตถกรรม สินค้าพื้นเมือง การแสดงละครประกอบแสงเสียงตำนานการสร้าง เมือง



  งานเทศกาลเงาะทุเรียนศรีสะเกษ
จัดเป็นประจำในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์ หรืออำเภอขุนหาญ โดยจะจัดสลับกันแห่งละปี ภายในมีกิจกรรมมากมาย เช่น การออกร้านจำหน่ายพืชผักผลไม้ศรีสะเกษนา นาชนิด เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง มังคุด สะตอ ยางพารา เป็นต้น การจัดขบวนแห่รถประดับด้วยผลไม้ การจัดนิทรรศการทางวิชาการ และการจัดกิจกรรมคาราวาน ชมสวนชิมผลไม้ศรีสะเกษ



  การแข่งขันวิ่งฮาล์ฟและควอเตอร์มาราธอนสู่ผามออีแดง 

จัดขึ้นในวันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนธันวาคมของทุกปี บนเส้นทางขึ้นสู่เขาพระวิหาร ระหว่างหมู่บ้าน ภูมิซรอล-ผามออีแดง อำเภอกันทรลักษ์ เนื่องจากเป็นเส้นทางขึ้นเขาสู่ชายแดนที่ต้องวิ่งฝ่าสายหมอกใน ช่วงปลายฤดูฝน จึงนับเป็นเส้นทางที่ท้าทาย และเป็นสนามประลองกำลังที่นักกีฬาวิ่งมาราธอนให้ความ สนใจมากอีกแห่งหนึ่ง




 กิจกรรมการลงข่วงวัฒนธรรมศรีสะเกษ และ Mini Light & Sound ปราสาทขอมวัดสระ กำแพงใหญ่

เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านที่จัดขึ้น ณ ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ เพื่อรอง รับนักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะในโอกาสต่าง ๆ โดยตกลงกับชุมชนที่รับผิดชอบดำเนิน งาน (ยกเว้นในช่วงฤดูฝน)
กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นในช่วงค่ำโดยใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 2 ชั่วโมง รายละเอียดของกิจกรรมประกอบ ด้วยการชมกิจกรรมลงข่วงวัฒนธรรมพื้นบ้าน ศรีสะเกษ ( การบายศรีสู่ขวัญต้อนรับการแสดงดนตรีพื้น เมือง การฟ้อนรำแบบสี่เผ่าไทยศรีสะเกษ การสาธิตศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านและการจัดเลี้ยงอาหารค่ำแบบ พาแลง) และการแสดงแสงเสียง ตำนานสร้างปราสาทขอมวัดสระกำแพงใหญ่ ชุด “ ศิวะราตรีแห่งศรีพฤท เธศวร ” สอบถามรายละเอียดได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลสระกำแพงใหญ่ โทร. 0 4536 8322 

ตราประจำจังหวัดศรีสะเกษ


    จังหวัดศรีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ของตนเองไม่ว่าเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ เช่น สิ่งที่มีอยู่ตามสภาพภูมิศาสตร์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
พืชพรรณไม้ และทรัพยากรอื่น ๆ รวมทั้งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ได้แก่ ศิลปะแบบขอม อาหารการกิน ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาถิ่น เป็นต้น


ตราประจำจังหวัดศรีสะเกษตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดศรีสะเกษ เป็นรูปปราสาทหิน ภายในวงกลมใต้ปราสาทเป็นรูปดอกลำดวนมีใบ 6 ใบ

ความหมาย
     ปราสาทหิน หมายความว่า ปราสาทขอมซึ่งมีอยู่จำนวนมากในจังหวัดศรีสะเกษ จนได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งปราสาทขอมโบราณ  เช่น ปราสาท
สระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงน้อย ปรางค์กู่ ปราสาทโดนตวล ปราสาทเยอ ปราสาททามจาน (ปราสาทบ้านสมอ) เป็นต้น  เท่าที่สำรวจพบขณะนี้
ยังคงมีร่องรอย และขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานแล้ว 16 แห่ง จนได้ชื่อว่าเป็นนครแห่งปราสาท มีความหลากล้วนทางวัฒนธรรม วิถีวัฒนธรรมของ
ชาวศรีสะเกษ มีลักษณะพิเศษที่มีความหลากหลายของชนเผ่าต่าง ๆ ในพื้นที่ ได้แก่ ส่วย เขมร ลาว เยอ จึงเรียกขานกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ดินแดนสี่เผ่าไทย”

ดอกลำดวน ๑ ดอก   
     ดอกลำดวน  1  ดอก  หมายถึง ดอกไม้สัญลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ คือ ดอกลำดวน พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เป็นดินแดนที่มีต้นลำดวนขึ้นอยู่ทั่วไป เป็นจำนวนมาก พอถึงฤดูออกดอกจะส่งกลิ่นหอมเย็นอบอวนไปทั่วทั้งจังหวัด เมืองศรีสะเกษ จึงได้ชื่อว่า " เมืองศรีนครลำดวน" 

ใบลำดวน ๖ ใบ 
    ใบลำดวน ๖  ใบ  หมายถึง อำเภอเริ่มแรกที่ตั้งเป็นจังหวัดศรีสะเกษ มี ๖ อำเภอ ประกอบด้วยอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์
อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุขันธ์ อำเภอราษีไศล และอำเภออุทุมพรพิสัย สำหรับอำเภออื่น ๆ นอกนั้นได้ตั้งขึ้นหลัง พ.ศ. ๒๕๐๐ และยกฐานเป็นกิ่งอำเภอก่อนทุกอำเภอ

ดอกไม้ประจำจังหวัด





  

       ดอกลำดวน เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นจังหวัดเดียวที่มีดอกลำดวนมากกว่า 40,000 ต้น ภายในสวนสมเด็จศรีนครินทร์แห่งแรกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 237 ไร่ ตั้งอยู่ในบริเวณวิทยาลัยเกษตรและเททคโนโลยีศรีสะเกษ ถือว่าเป็นดงดอกลำดวนที่มีมากที่สุดในประเทศไทย โดยจะบานสะพรั่งส่งกลิ่นหอมพร้อมกันในเดือนมีนาคมของทุกปี คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นลำดวนไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความสดชื่นรื่นรมย์ เพราะดอกลำดวนมีสีเหลืองนวลสว่าง อีกทั้งมีกลิ่นหอมเย็น และยังมีสรรพคุณทางสมุนไพร โดยนำเกสรของดอกลำดวนใช้ผสมกับสมุนไพรอื่นเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง และบำรุงโลหิต นอกจากนี้ดอกลำดวนยังเป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุสากล และเป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุแห่งชาติของประเทศไทยอีกด้วย 

สถานที่ท่องเที่ยว


     ปราสาทเขาพระวิหาร   ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก ในเขตประเทศกัมพูชา บริเวณที่ติดกับผามออีแดงของประเทศไทย ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นเทวสถานขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 900 เมตร ประกอบด้วยปราสาท 4 ชั้นแต่ละชั้นตั้งอยู่บนแนวเขาที่เป็นเนินสูง ลดหลั่นกันขึ้นไปตามลำดับทั้ง 4 ชั้น ทางเดินระหว่างชั้นของปราสาท ได้อาศัยแผ่นศิลาบนผิวพื้นภูเขานั้นเป็นแนวถนน และขั้นบันได โดยตกแต่งให้มีระดับต่อเนื่องกันจนถึงยอดสูงสุด อันเป็นที่ตั้งของปราสาทชั้นที่ 4 ซึ่งเป็นปราสาทองค์ประธาน อยู่ชิดกับหน้าผา สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 657 เมตร
      พระธาตุเรืองรอง  ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 62 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงสาย 226 (อุบล - ศรีสะเกษ) และห่างจากตัวเมืองศรีสะเกษไปตามทางหลวงหมายเลข 2373 (ศรีสะเกษ - อ.ราษีไศล) ประมาณ 7.5 กิโลเมตร  ตั้งอยู่ที่วัดบ้านสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมือง  เป็นพระธาตุที่สร้างแบบศิลปะพื้นบ้าน สูง 49 เมตร แบ่งออกเป็น 6 ชั้น
    ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่   เป็นปราสาทขอมขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัด มีลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์ บนฐานเดียวกันในแนวทางทิศเหนือใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์องค์กลางคือ ปรางค์ประธาน ก่อด้วยหินทรายมีอิฐแซมบางส่วน ปรางค์อีก 2 องค์ เป็นปรางค์อิฐ มีส่วนประกอบตกแต่งที่เป็นหินทราย เช่น ทับหลัง กรอบหน้าบัน และกรอบเสาประตู ด้านหลังปรางค์องค์ทิศใต้ มีปรางค์ก่ออิฐ 1 องค์ ด้านหน้ามีวิหารก่ออิฐ 2 หลัง ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีโคปุระหรือประตูซุ้มทั้งสี่ทิศ ที่ปรางค์ประธานมีทับหลังจำหลัก ภาพพระอินทร์ทรงช้างบนแท่นเหนือหน้ากาล ส่วนที่วิหารก่ออิฐซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือ มีทับหลังสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ อยู่เหนือพระยาอนันตนาคราช ท่ามกลางเกษียรสมุทร และที่วิหารก่ออิฐ ทางด้านทิศใต้มีทับหลังรูปพระอิศวรกับพระอุมา ประทับนั่งเหนือโคนนทิ
   ปราสาทปรางค์กู่ตั้งอยู่ที่บ้านกู่ อำเภอปรางค์กู่ แยกจากอำเภอราว 10 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 70 กม. ปรางค์องค์นี้สร้างด้วยอิฐเรียงแผ่นโตๆ เหมือนปราสาทศรีขรภูมิที่จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นศาสนสถานสมัยขอมที่เก่าแก่มาก มีอายุกว่าพันปีมาแล้ว หน้าบริเวณปรางค์กู่ มีสระน้ำกว้างยาวประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นทำเลพักหากินของนกพันธุ์ต่างๆ ฝูงใหญ่
   น้ำตกภูละออ อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 221 (กันทรลักษ์-ผามออีแดง) ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร ถึงบ้านภูมิซรอล เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางบ้านภูมิซรอล-น้ำตกสำโรงเกียรติ ประมาณ 8 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายสู่น้ำตกภูละอออีก 2.5 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดสาย น้ำตกภูละออ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ที่มีน้ำตกสวยงามในช่วงเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ ทางเดินเท้าจากบริเวณลานจอดรถถึงน้ำตก ในระยะทางไปกลับประมาณ 4 กิโลเมตร

ทำเนียบบุคลากร


คลิกดูประวัติของ นายประทีป กีรติเรขา
นายประทีป กีรติเรขา
ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ 
คลิกดูประวัติของ นายสนิท  ขาวสอาด
นายสนิท ขาวสอาด
รองผู้ว่าราชการจังหวัด 
คลิกดูประวัติของ นายสุริยะ  อมรโรจน์วรวุฒิ
นายสุริยะ อมรโรจน์วรวุฒิ
รองผู้ว่าราชการจังหวัด 
คลิกดูประวัติของ นายพยม ธารีชาญ
นายพยม ธารีชาญ
รองผู้ว่าราชการจังหวัด 


2007 Copyright © เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้พัฒนาโปรแกรม ®
   Tel. 045-612640 
วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 656 
จัดทำโดย กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ

คำขวัญ

 
 
 
 
 
ศรีสะเกษ  
ศรีสะเกษ  แดนเขตปราสาทขอม  หอมกระเทียมดี
 มีสวนสมเด็จ  เขตดงลำดวน  หลากล้วนวัฒนธรรม  เลิศล้ำสามัคคี